fbpx

ปราบเซียนธุรกิจ

ทำธุรกิจในไทย ปราบเซียน

แต่ละประเทศมีความยากง่ายของการทำธุรกิจต่างกันไม่ว่าจะเป็นด้านตลาด ผู้บริโภค คู่แข่ง หรือกฏระเบียบต่างๆ หลายท่านอาจจะเคยคิดว่าการทำธุรกิจในไทยนั้นง่ายกว่าต่างประเทศเยอะ แต่เท่าที่ผมเคยมีประสบการณ์ในการร่วมงานกับนักธุรกิจต่างประเทศ เค้าให้มุมมองที่น่าสนใจหลายเรื่องเลยทีเดียวถึงความยากของธุรกิจไทยที่เกิดจากปัจจัยภายนอก (ไม่เกี่ยวกับตัวเจ้าของ) ผมจึงสรุปออกมาเป็นข้อๆ หลักตามนี้ครับ

ธุรกิจในไทยเน้นเลียนแบบสินค้าไม่เน้นนวัตกรรม

คิดว่าผู้อ่านคงเคยเห็นรายการแนะนำธุรกิจทั้งหลายจำพวกแนะนำธุรกิจ SME ขายง่าย ทำง่าย รวยเร็ว เช่น ขายลูกชิ้นปลา ทำสบู่สมุนไพร ร้านกาแฟ ฯลฯ พิธีกรก็จะไปสอบถามธุรกิจที่เป็นที่สนใจในขณะนั้น แล้วก็ถามมันทุกอย่างตั้งแต่วิธีทำ ต้นทุน กลยุทธ์หาลูกค้า รายได้ ฯลฯ ลองคิดดูสิครับ คนที่ดูรายการพวกนี้คือใคร ก็ SME กันนี่แหละ มันมีประโยชน์ครับสำหรับคนเริ่มทำธุรกิจ แต่มันเป็นผลเสียมากครับสำหรับเจ้าของที่มีธุรกิจเดิมอยู่แล้ว เพราะการโปรโมตแบบนี้ไม่แน่ใจว่าจะได้ชื่อเสียงกลับมารึเปล่า แต่ได้คู่แข่งที่พร้อมจะเลียนแบบอีกเป็นกระบุง ถ้าจะให้สร้างมูลค่าควรไปสนใจสินค้าที่มีผู้คิดค้นให่แต่ต้องการผู้ทำตลาดมากกว่ารึเปล่าครับ

เจ้าของธุรกิจขนาดใหญ่คิดกินรวบตั้งแต่ต้นจนจบ

ในญี่ปุ่นจะมีโครงสร้างธุรกิจชัดเจนครับ คนที่เป็นร้านค้าปลีกจะซื้อของจากร้านค้าส่ง ห้างใหญ่ๆ จะไม่นำเข้าเองโดยตรงแต่จะซื้อของจากผู้นำเข้า พูดง่ายๆ คือไม่ทับเส้นกัน ไม่ตัดช่องทางกัน แต่ในเมืองไทยไม่ใช่อย่างนั้นครับ ผู้ผลิตบางรายไม่เคยคิดจะแบ่งกำไรให้ใคร กินรวบตั้งแต่ต้นน้ำยันปลายน้ำ

ในหลายประเทศมีกฏหมายคุ้มครองการผูกขาดครับ บางประเทศคุ้มครองถึงระดับ market share ของสินค้ากลุ่มนั้นว่าต้องมีไม่เกินกำหนด มิเช่นนั้นจะเป็นการผูกขาดตลาดเกินไป เค้าทำอย่างนี้เพื่อคุ้มครอง SMEs ครับ ถ้าในมุมผู้ทำธุรกิจ จะยิ่งใหญ่ก็ไม่ผิดครับ แต่ในมุมสังคม หากเป็นการผูกขาดแล้วจะเป็นการเอาเปรียบผู้บริโภคเกินไป สำหรับธุรกิจในไทย ไม่มีครับ รายใหญ่รังแกรายเล็ก วิธีแก้ไขคือรายเล็กต้องร่วมมือกันจัดตั้งเป็นสมาคมครับ ในญี่ปุ่นชัดเจนมากครับ ร้านค้าปลีกจะไม่นำเข้าเอง แต่จะให้ผู้นำเข้าเป็นคนดำเนินการแทน

ลูกค้าไม่เคารพคุณค่าของแบรนด์ และ สตอรี่

คุณรู้จักไก่ย่างวิเชียรบุรี หรือ ไก่ทอดหาดใหญ่ รึเปล่าครับ คุณรู้มั้ยว่าเจ้าที่ขึ้นป้ายขายเค้ามาจากวิเชียรบุรีจริงรึเปล่า หรือมีใครเป็นญาติอยู่ที่หาดใหญ่มั้ย ลูกค้าก็ไม่รู้หรอกครับ ซื้อๆ ไปเหอะชื่อดัง แต่ในมุม

ภาครัฐให้การสนับสนุนเยอะเกินไป

คุณอ่านไม่ผิดหรอกครับ ภาครัฐให้การสนับสนุนเยอะเกินไป จนงง ช่วงแรกที่ผมเริ่มทำธุรกิจส่งออก ผมก็ไปหาความรู้จากหน่วยงานรัฐฯ หลายแห่ง ปรากฏว่าทุกแห่งมุ่งตรงไปที่ AEC (ช่วงกำลังบูม) ตั้งแต่ส่งออก ผลิตสินค้า ค้าปลีก หรือกระทั่ง OTOP ก็ยังเน้นไปที่ AEC เลย กรมส่งเสริมการส่งออก (ชื่อเดิม) ที่นั่นให้ข้อมูลดีมากครับ สามารถทำให้ผมรู้ข่าวคราวรวมถึงตลาดต่างประเทศได้รวดเร็วโดยไม่ต้องเสียเงินเลยสักบาท (สัมมนาฟรี อันนี้ต้องขอบคุณกรมฯ เพราะจัดคอร์สได้ตรงประเด็นมาก) จากนั้นผมก็หาคอร์สที่เกี่ยวกับการส่งออก พบว่ามีหลายแห่งเลยครับ ไม่ว่าจะเป็นจากกรมอื่นๆ ที่ไม่เกี่ยวกับส่งออก ผมเลยเข้าไปดูว่ากรมนั้นมีพูดเรื่องอะไรบ้าง ปรากฏว่ามีหมดเลยครับตั้งแต่

แหล่งเงินทุนหายาก ขาดแคลนเงินทุนเริ่มต้น

ผมคนนึงครับ ตอนเริ่มต้นธุรกิจไม่มีทุนเลย เงินที่เก็บได้จากเงินเดือนก็น้อยมากถ้าจะเริ่มทำธุรกิจ มีอยู่วันหนึ่งไปเดินงานแฟร์เกี่ยวกับ SMEs งานหนึ่ง แวะเข้าไปหาสถาบันการเงินแห่งหนึ่งที่บอกว่ามีวงเงินกู้ให้สำหรับปล่อยกู้ให้ผู้เริ่มทำธุรกิจ SMEs ผมตาลุกวาวเลยครับ มีเงินให้ทำทุนแล้ว พอกลับจากงานโทรถามรายละเอียด ก็ต้องผิดหวังครับ เพราะสถาบันนี้ให้กู้จริงแต่ต้องมีหลักทรัพย์ค้ำประกัน ผมก็เข้าใจในมุมผู้ให้กู้นะครับว่า

Leave a Comment

Your email address will not be published. Required fields are marked *

error: Content is protected !!